1.การออกแบบ
2.การศึกษาความเป็นไปได้
3.การทดลองดำเนินการและการทดสอบตลาด
4.การดำเนินการในเชิงอุตสาหกรรม
5.การส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการออกสู่ตลาด
วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และการบริการ
1.ช่วงแนะนำ
2.ช่วงเจริญเติมโต
3.ช่วงเริ่มอิ่มตัว
4.ช่วงถดถอย

picture from :http://www.slideshare.net/kingkongzaa/strategy-and-competitive-advantage-ch6
รอบของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบันมีระยะเวลาที่ลดลง เนื่องมาจากปัจจัย 3 ประการ
1.โลกาภิวัฒน์
2.เขตการค้าเสรี
3.พัฒนาการของโลจิสติกส์
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
1.สนับสนุนการเติบโตของยอดขาย และกำไรของผลิตภัณฑ์ของบริษัทในภาพรวมให้คงที่อยู่ได้
2.พัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น โดยเพิ่มความน่าเชื่อถือ Reliability หรือ คุณสมบัติใช้งาน Feature ให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนๆ
3.ลดต้นทุน โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ และ Out Source ให้ผู้เชียวชาญทำงานแทน
4.ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือ มาตรฐานที่เปลี่ยนไป
มุมมองลูกค้าต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
1.มุมมองด้านลบ
2.มุมมองด้านบวก
การพัฒนา สินค้าที่มุ่งเน้นที่จะการแก้ไขปัญหาที่เป็นมุมมองด้านลบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบผลสำเร็จมากกว่า การพัฒนาสินค้าที่เพิ่มมุมมองด้านบวก
ปัจจัยความต้องการของลูกค้ามี 3 ปัจจัยคือ
1.Dissatisfied เป็นปัจจัยความต้องการพื้นฐาน ลูกค้าจึงไม่มีการแสดงออกถึงความต้องการ
2.satisfied เป็นปัจจัยความต้องการที่ลูกค้าแสดงออกและบอกกล่าว
3.Exciters/Delighters เป็นปัจจัยความต้องการของลูกค้าที่ลูกค้าไม่ได้คาดคิดว่าจะได้รับ

picture from:http://en.wikipedia.org/wiki/Kano_model
จากรูปจะเห็นว่า การตอบสนองปัจจัย Dissatisfied ส่งผลให้เกิดการลดความไม่พึงพอใจลด แต่ไม่ได้เพิ่มความพึงพอใจ ส่วนการตอบสนองในปัจจัย Satisfied ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง ไม่เหมือน Exciters ที่ความพึงพอใจจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เมื่อเวลาผ่านไปปัจจัยที่เคยเป็นปัจจัย Exciter จะลดระดับลงมาเป็น Satisfied และเป็น Dissatisfied ในที่สุด