วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Credit Rating

Credit Rating คือ ระดับความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งเป็นความเสี่ยงของตัวบริษัท (issuer rating) และ ตัวหุ้นกู้แต่ละตัว  (issue rating) ซึ่งเครดิต Rating จะถูกจัดโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency: CRA)


*นอกจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทและหุ้นกู้แล้ว ยังมีการจัดอันดับควมน่าเชื่อถือของประเทศ(Sovereign Credit Rating) กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ และ อื่นๆอีกมากมาย

CRA ที่ครองตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ Moody's, S&P,และ Fitch Ratings ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90%

 สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน CRA ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ในการจัดอันดับหุ้นกู้ในประเทศ มี 2 แห่ง คือ บริษัท ทริส เรตติ้ง จำกัด www.trisrating.com และ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด www.fitchratingsasia.com

*กลต.บังคับว่าหุ้นกู้ทุกรุ่นต้องผ่าน Credit Rating นอกจาก เสนอขายภายในวงจำกัด private placement และวงเงินน้อยกว่า 100 ล้านบาท

 การจัดอันดับเครดิต แบ่งเป็น ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น และ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวตัวอย่างสัญลักษณ์เป็นดังตาราง ด้านล่าง
 
ขอบคุณภาพจาก : http://www.moneyland.ch/resources/public/vendors/kcfinder/upload/images/Rating-Agenturen.jpg

ซึ่งโดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ
1.Investment Grade หมายถึงอันดับ BBB ขึ้นไป
2.Non-Investment Grade หมายถึง อันดับ BB ลงมา

นอกจากนี้ CRA ยังมีการออก Rating Outlook เพื่อแสดงการคาดการณ์แนวโน้มอันดับเครดิต โดยมีทั้งแบบ Positive Outlook แสดงถึงแนวโน้มปรับเพิ่มอันดับเครดิต หรือแบบ Stable Outlook และ Negative Outlook แสดงถึงแนวโน้มคงที่หรือปรับลดตามลำดับ ดูตัวอย่าง Rating Outlook ได้ตามตาราง (Hi-light สีเขียว)

มาดูตัวอย่างการจัดอันดับของ TrisRating กัน
15/10/2014     TRIS Rating Assigns Company Rating of “EDL-Gen” at “BBB+" with “Stable” Outlook
14/10/2014     TRIS Rating Affirms Company Rating and Outlook of “NMG” at “BBB+/Positive
10/10/2014     TRIS Rating Assigns “A-/Stable” Ratings to Senior Unsecured Debt Worth Up to Bt1,000 Million and Bt500 Million of “CFGS”
09/10/2014     TRIS Rating Upgrades Company Rating of “TRUE” to “BBB+” from “BBB”, Senior Unsecured Debt Ratings to “BBB+” from “BBB-”, and Revises Outlook to “Stable”
08/10/2014     TRIS Rating Affirms Company & Senior Unsecured Debt Ratings and Outlook of “TPIPL” at “BBB+/Stable
03/10/2014     TRIS Rating Affirms Company Rating and Outlook of “GFPT” at “BBB+/Stable”
01/10/2014     TRIS Rating Affirms Company & Senior Unsecured Debt Ratings of “IVL” at “A+” and Assigns “A-” Rating to Subordinated Capital Debts, with “Stable” Outlook
30/09/2014     TRIS Rating Affirms Company & Senior Unsecured Debt Ratings and Outlook of “TK” at “A-/Stable”
26/09/2014     TRIS Rating Affirms Company & Senior Unsecured Debt Ratings and Outlook of “SC” at “BBB+” and "BBB" and Affirms "Stable" Outlook
24/09/2014     TRIS Rating Assigns “AA-(sf)” Rating to Amortizing Guaranteed Debt Worth Bt3,200 Million of “SPV-SMC (7)”
17/09/2014     TRIS Rating Assigns “A+/Stable” Rating to Senior Unsecured Debt Worth Up to Bt6,100 Million of “MPSC”
17/09/2014     TRIS Rating Assigns “A/Stable” Rating to Senior Unsecured Debt Worth Up to Bt1,000 Million of “KSL”
12/09/2014     TRIS Rating Assigns “T1+/Stable” Rating to Guaranteed Debt Worth Up to Bt80,000 Million of “TLT”, Under Short-term Debenture Program
ที่มา:http://www.trisrating.com/en/news/press-release.html?start=20

 ผลของอันดับเครดิตต่ออัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ (Coupon Rate)

บริษัทที่มีอันดับเครดิต ดีกว่า จะสามารถออกหุ้นกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
ในทางกลับกัน บริษัทที่มีอันดับเครดิตต่ำ จะต้องออกหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า
เพื่อดึงดูดผู้ลงทุน หรือเรียกว่า Risk Premium นั่นเอง

ฺBond vs Debenture

หลายคนอาจสับสนว่า bond ต่างกับ Debenture อย่างไร
bond และ debenture มีลักษณะที่เหมือนกันยกเว้น bond ดูจากชื่อแปลว่าพันธะ ซึ่งก็คือ bond จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วน Debenture นั้นจะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะฉะนั้น ดอกเบี้ยของ Bond จึงต่ำกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำกว่า ส่วน debenture จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ออกจึงต้องให้ดอกเบี้ยสูงกว่า เพื่อดึงดูด นักลงทุน หรือ เราเรียกว่าต้องมี risk premium นั่นเอง 

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำศัพท์ที่น่ารู้เกี่ยวกับ Bond

มารู้จักกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Bond กัน  

สำหรับประเทศไทย จะใช้คำว่า Bond สำหรับ พันธบัตร ซึ่งออกโดยภาครัฐ

และจะใช้คำว่า Debenture เมื่อเป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน

  • Principal เงินต้น, Nominal or Face Value ราคามูลค่าหน้าตราสาร โดยทั่วไปมักจะมีมูลค่า 1,000.00 บาท ซึ่งราคามูลค่าหน้าตราสารนี้ จะนำไปใช้คำนวณดอกเบี้ย(Coupon)ที่จะจ่ายให้กับผู้ถือตราสาร และยังเป็นมูลค่าที่ผู้ออกตราสารตกลงที่จะจ่ายเมื่อครบกำหนด(bond’s maturity date)
  • Maturity Date คือวันที่ผู้ออกตราสารตกลงจะคือเงินต้นตามมูลค่าที่ตราไว้ที่หน้าตราสาร(Face value) ให้กับผู้ถือตราสาร โดยตราสารจะแบ่งตามระยะเวลาที่เหลือจนถึงวันครบกำหนดได้เป็น 3 ระยะดังนี้ 
    • Short-term bonds ตราสารที่จะครบกำหนดภายใน 3 ปี
    • Medium-term bonds ตราสารที่จะครบกำหนดระหว่าง 3 ปี ถึง 10 ปี
    • Long-term bonds ตราสารที่จะครบกำหนดมากกว่า 10 ปี
  • Coupon อัตราดอกเบี้ย บอกเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีที่ผู้ออกตราสารตกลงที่จะจ่ายให้ผู้ถือ โดยคำนวณจากราคาหน้าตราสาร ซึ่งโดยทั่วไปจะจ่ายทุก ครึ่งปี หรือ Semiannual ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหน้าตราสารเป็น 1000 บาท และ Coupon rate เป็น 10% semiannual หมายความว่า จะจ่ายให้ผุ้ถือตราสารจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1000x10%x6/12 =50 บาท
  • Coupon Dates วันที่กำหนดจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปจะจ่ายทุกครึ่งปีแต่ก็มีบางตราสารจ่ายเป็น ไตรมาส หรือจ่ายเป็นปีก็มี 
  • ตัวอย่างหุ้นกู้