วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Financial Analysis - Estimation

Financial Analysis - Estimation
หัวข้อนี้จะกล่าวถึง ค่าในงบการเงินที่เกิดจากการประมาณการ ในงบการเงิน ตัวเลขทางบัญชี มีทั้ง ค่าจริง และค่าที่เกิดจากการประมาณการ การวิเคราะห์งบการเงิน จึงต้องทำการศึกษา ในส่วนการประมาณการเหล่านี้ ว่าเหมาะสมหรือไม่ หรือกรณีที่จะเปรียบเทียบ ระหว่างบริษัทหรือ อุตสาหกรรม ก็จะต้องพิจารณาในส่วนนี้ว่า มีการใช้หลักการประมาณการเดียวกันหรือไม่ ใช้เกณฑ์ต่างกันอย่างไร

ข้อมูลในงบการเงินที่นิยมใช้วิธีประมาณการคือ
  1. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) จะต้องมีการประมาณการ มูลค่าราคาซาก และ ระยะเวลาใช้งาน
  2. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance) จะต้องประมาณการว่าลูกหนี้การค้า ที่จะเบี้ยวเรามีเท่าไร
  3. สินค้าคงคลัง (Inventory) กรณีสินค้าที่เหมือนๆ กัน เช่น ปากกา ยางลบ ท่อน้ำ ทำให้ยากต่อการแยก และเนื่องจาก เวลาซื้อ ราคาทุนอาจจะต่างกัน ทำให้ต้องประมาณการว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีมูลค่าเท่าไร และ ต้นทุนสินค้าขายมีมูลค่าเท่าไร

คราวนี้ ผลของการประมาณการผิดพลาดมีอย่างไรบ้าง
 1.ค่าเสื่อมราคา ถ้าเราประมาณ ระยะเวลาใช้งานเป็น 10 ปี แต่เครื่องจักรนั้นใช้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีซึ่ง เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำให้เครื่องจักร ใช้งานได้เพียง 5 ปี สมมติ เครื่องจักร ราคา 1 ล้านบาท เมื่อใช้ไป 5 ปี เราตัดค่าเสื่อมราคาไปเพียง 5 แสนบาท (คิดแบบเส้นตรง)  แสดงว่าปีก่อนๆ เรา under estimate ค่าใช้จ่าย ทำให้ over estimate กำไร หรือ อธิบายง่ายๆว่าปีก่อนๆ ที่กำไร ดูดีเพราะการประมาณการที่ผิดพลาดไม่เหมาะสม

2.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ถ้าเราประมาณไม่ตรงกับของจริงเช่นประมาณ ค่าน้อยๆ ทั้งที่จริงๆแล้วลูกหนี้การค้าเรา เกินกำหนดชำระมานานและ สถานะการเงินไม่สามารถชำระหนี้เราได้ จะทำให้เรามองลูกหนี้การค้า (Account Recievable) ซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมีมูลค่าเกินจริงืำมห้อาจจะตัดสินใจลงทุนผิดพลาดได้

เห็นไหมครับการประมาณการ ที่แตกต่างกัน อาจมีผลต่องบการเงิน และการตัดสินใจของเราอย่างมาก
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะลงทุน เราควรศึกษาในส่วนของการประมาณการเหล่านี้ อย่างละเอียด และเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง เพื่อเปรียบเทียบก่อนทำการลงทุนครับ

การประมาณการทั้งสามรายการนี้ มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จะอธิบายแยกเป็นรายการในบทความต่อๆไป รอติดตามอ่านกันนะครับ




วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Measurement Principles

Measurement Principles หลักการวัดมูลค่า
GAAP (General Accepted Accounting Principle) หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป มักจะใช้วิธีวัดมูลค่า หนึ่งในสองวิธี ดังนี้
  1. Historical cost principle หลักการราคาทุน 
  2. Fair value principle หลักการมูลค่ายุติธรรม
โดยการที่จะเลือกใช้ วิธีใดนั้น จะต้องเลือกโดยพิจารณา ถึง relavance และ faithful representation
Relevance หมายถึง ข้อมูลทางการเงินที่ทำให้เกิดการตัดสินใจที่แตกต่างกัน
Faithful representation หมายถึง การแสดงรายการและเหตุการณ์ทาง บัญชีอย่างเที่ยงธรรม ตามเนื้อหาและความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

หลักการราคาทุน บริษัทจะบันทึกบัญชีสินทรัพย์ด้วยราคาทุน ไม่ว่ามูลค่าปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเท่าไรก็ตาม
หลักการมูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์และหนี้สินบางประเภทควรจะ รายงานที่มูลค่ายุติธรรม เช่น เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ควรจะรายงานที่ราคาตลาด โดยทั่วไป บริษัทส่วนมากนิยมที่จะเลือกใช้วิธี ราคาทุน ยกเว้น ในสถานการณ์ เช่น การลงทุนระยะสั้นในหุ้น  บริษัทจึงเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม

Accounting Equation

Accounting Equation  สมการบัญชี





 สินทรัพย์  (Assets) หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
  หนี้สิน  (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ  การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
  ส่วนของเจ้าของ (Equity) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินแล้ว
  รายได้ (Revenue) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้า
  ค่าใช้จ่าย (Expenses) การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์
  ทุนเรือนหุ้น (Common Stock) ส่วนทุนที่บริษัทได้รับจากการนำหุ้นออกขาย
  กำไรสะสม (Retained Earning) กำไรส่วนเกินภายหลังจากหักเงินปันผลออกแล้ว
  เงินปันผล (Dividends) ส่วนที่แบ่งให้ผู้ถือหุ้นโดยหักออกจากกำไรสะสม

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน-หนี้สิน

หนี้สินเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ถ้าหากผู้บริหาร บริหารหนี้สินผิดพลาด อาจนำมาสู่การล้มละลายของบริษัทได้  ดังนั้น การคัดเลือกหุ้น จะต้องพิจารณาหนี้สินอย่างละเอียด  โดยในส่วนของหนี้สินเราจะพิจารณา ดังนี้

พิจารณาหนี้ของบริษัท ว่ามีหนี้อะไรบ้าง โดยหนีจะแบ่งออกเป็น
    • หนี้ระยะสั้น คือหนี้ที่ครบกำหนดจ่ายในเวลาน้อยกว่า 1 ปี
    • หนี้ระยะยาว คือหนี้ที่ครบกำหนดจ่ายในเวลามากกว่า 1 ปี
  • ควรจะพิจารณาว่าหนี้ทั้งสองชนิดนี้ มีมากเกินไปหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง หรือถ้าบริษัทสามารถคืนหนี้ได้ทั้งหมดด้วยรายได้สุทธิ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ก็ควรเป็นหนี้ที่สามารถบริหารจัดการได้
  • ถ้าบริษัทมีการก่อหนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเฟื่องฟู มากเกินไป เมื่อเข้าสู้สภาวะถดถอย ก็จะทำให้บริษัทมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้
  • พิจารณาหนี้ระยะสั้น ว่าบริษัทมีความสามารถที่จะจ่ายหรือไม่ โดยพิจารณาจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด การลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้ สินทรัพย์ซ่อนเร้น และ กระแสเงินสดเพื่อจ่ายหนี้ระยะสั้น 
  • พิจารณาอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายหนี้สินในปัจจุบันหรือไม่
    • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน 
      อัตราส่วนทุนหมุนเวียนควรมีค่ามากกว่า 1 ถ้ามีค่าต่ำกว่า แสดงว่า บริษัทอยู่ในสภาวะเสี่ยงเรา
จะต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติม ว่า บริษัทจะแก้ปัญหาอย่างไร หรือ บริษัทมีสินทรัพย์ซ่อนเร้นที่สามารถนำมาชำระหนี้สินระยะสั้นได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้วว่าสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ เราอาจจะได้หุ้นราคาถูกที่นักลงทุนทั่วไป ทิ้งเนื่องจากไม่ได้พิจารณาอย่างละเอียด เพื่อสถานการณ์ผ่านไป ราคาหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้นและ ได้กำไรมหาศาล หรือเรียกว่าเราได้หุ้นในราคาส่วนลด

  • ถ้าเป็นไปได้ นักลงทุนควรจะลงทุนในบริษัทที่ไม่มีหนี้สินระยะยาว โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องในเงินลงทุนมาก เช่นอุตสาหกรรม บริการ บริษัทเหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ได้มากกว่าและไม่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ และไม่ต้องเสียส่วนของกำไรไปกับหนี้ระยะยาว
  • พิจารณาบริษัทที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ จนไม่ต้องพึ่งพาหนี้สินระยะยาวในการไปลงทุนเพื่อการเติบโตของบริษัท
  • พิจารณาว่า หนี้สินระยะยาว มีปริมาณที่สมเหตุสมผลหรือไม่ โดย หนี้ระยะยาว ควรจะสามารถชำระหมดด้วยรายได้สุทธิ ไม่เกิน 5 ปี และมีกระแสเงินสด เพียงพอ 
  • พิจารณาประเภทของหนี้ด้วย ว่าเป็นหนี้ที่สามารถเรียกคืนได้หรือไม่ ถ้าสามารถเรียกคืนได้เราต้องระมัดระวัง และต้องพิจารณากระแสเงินสดว่าคงที่และ ครอบคลุมการชำระหนี้ที่เสี่ยงนี้เพียงพอหรือไม่ 
  • หนี้สินระยะยาวที่มีประโยชน์ คือ หุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่มีอายุ ยาวและดอกเบี้ยต่ำ 
  • ควรเลือกลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายดอกเบี้ยน้อย หรือไม่ต้องจ่ายเลย 
  • หากมีดอกเบี้ยจ่าย ควรพิจารณาว่า อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน แต่ละปี สูงขึ้นหรือไม่ ถ้าสูงขึ้นต้องระมัดระวัง 
  • ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหุ้นบุริมสิทธิ์ เนื่องจาก หุ้นบุริมสิทธิ์ จะมีค่าใช้จ่ายสูง และ บางชนิดยังสามารถแปลง เป็น หุ้นสามัญ ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญ ลดลง

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Parts of shareholders' Equity

shareholders' Equity ส่วนของผู้ถือหุ้น  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.Paid-in Capital ทุนที่ออกและได้รับการชำระแล้ว แบ่งเป็นสองส่วนคือ
  • share par values หมายถึง มูลค่าของหุ้นตามมูลค่าที่ตราไว้
  • additional paid-in capital ส่วนเกิน(ต่ำกว่า)มูลค่าหุ้น หมายถึง  เงินที่ได้จากการขายหุ้นทุนจดทะเบียนตามกฎหมายในส่วนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ ให้แสดงรายการแยกต่างหากโดยไม่ต้องนำมาหักกลบกัน และกรณีหุ้นทุนประกอบด้วยส่วนที่เป็นหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ก็ให้แสดงส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นทุนแต่ละประเภทข้างต้นแยกจากกัน
2.Retained earning กำไรสะสมอยู่ในบริษัท โดย เกิดจากกำไรสะสมตั้งแต่เริ่มบริษัท หักด้วยเงินปันผล ที่ได้จ่ายให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมด

การจ่ายเงินปันผล จะต้องจ่ายจาก Retained Earning เท่านั้น ไม่สามารถจ่ายจาก Paid-in Capital ได้
ดังนั้นบริษัทที่จะจ่ายเงินปันผลได้จะต้องมีกำไรสะสม หรือ จะต้องล้างขาดทุนสะสมให้หมดก่อน

Shareholders' Right

Shareholders' Right สิทธิของผู้ถือหุ้น
1.Vote สิทธิในการมีส่วนร่วมในการบริหาร โดยการโหวตเพื่อลงความเห็นในประเด็นสำคัญในที่ประชุมทั้วไปประจำปี (Annual General Meeting) โดย มีสิทธิ  1 หุ้นต่อ 1 สิทธิ นอกจากมีระบุไว้ตามข้อกำหนดของบริษัท ที่แตกต่างออกไป
2.Dividends สิทธิในการได้รับเงินปันผล จากกำไรของบริษัท
3.Liquidation สิทธิในการได้รับส่วนของเงินที่เหลือจากการขายกิจการและใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ทั้งหมดแล้ว
4.Preemption สิทธิในการรักษาสัดส่วนความเป็นเจ้าของ เช่นกรณีมีการเพิ่มทุน 10% ของจำนวนหุ้นเดิม ผู้ที่ถือหุ้นเดิม จะมีสิทธิได้รับการเสนอก่อน 10% เช่น ถ้าผู้ถือหุ้นถืออยู่ 5000 หุ้น บริษัทจะต้องเสนอหุ้นให้ 500 หุ้นก่อนที่จะเสนอขายต่อผู้สนใจรายใหม่

Corporate Structure

โครงสร้างบริษัทมหาชน

Corporate Structure Business Org Chart



Board of Directors คณะกรรมการบริษัท จะถูกเลือกโดย ผู้ถือหุ้น
คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทมหาชน

กรรมการของบริษัท สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • Chairman – ประธานกรรมการบริหารจะถูกเลือกโดยคณะกรรมการ  เพื่อเป็นผู้นำซึ่งรับผิดชอบให้การประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นไปด้วยความราบลื่น และมีประสิทธิภาพ และยังมีหน้าที่สำคัญคือ สื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง รวมถึง CEO เพื่อกำหนด กลยุทธ์ของบริษัท และเป็นตัวแทนของผู้บริหารและคณะกรรมการ ในการให้ข้อมูลต่อสาธารณะและ ผู้ถือหุ้น                                       
  • Inside Directors  – คณะกรรมการภายใน อาจจะเป็นคณะกรรมการบริหารที่เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี มีหน้าที่ในการอนุมัติงบประมาณที่ใช้วงเงินสูง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เป็นผู้ที่นำกลยุทธ์ของบริษัทไปใช้และติดตาม เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภายในบริษัทต่อคณะกรรมการอื่นๆ  
  • Outside Directors – คณะกรรมการอิสระ มีหน้าที่เหมือนกับคณะกรรมการภายในในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัท ข้อแตกต่างคือ คณะกรรมการอิสระ จะให้ความเห็นที่ปราศจากความลำเอียงไม่เข้าข้างฝ่ายบริหาร เนื่องจากไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัท
Management Team ทีมบริหาร มีหน้าที่ในการบริหารงานเพื่อตัดสินใจในกิจกรรมรายวันของบริษัทเพื่อสร้างกำไรและผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น
  • Chief Executive Officer (CEO) – ผู้บริหารสูงสุด มีหน้าที่ในการบริหารภาพรวมของทั้งบริษัท และ รายงานต่อ คณะกรรมการบริหาร และมีหน้าที่ในการนำการตัดสินใจและแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด ไปใช้ ผู้บริหารสูงสุดอาจจะเป็นคณะกรรมการภายในก็ได้แต่ไม่ควรเป็นคนเดียวกับ ประธานกรรมการบริหาร เพื่อความเป็นอิสระต่อกัน และแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน                        
  • Chief Operations Officer (COO) – รองผู้บริหารด้านปฏิบัติการเกี่ยวกับด้านการตลาด การขาย การผลิต และด้านบุคคล และรายงานผลหรือปัญหาต่อ CEO                                                                  
  • Chief Financial Officer (CFO) – รองผู้บริหารด้านการเงิน รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน รายงานด้านประสิทธิภาพทางการเงิน และ จัดเตรียมงบประมาณรายปี และ ติดตามการใช้จ่ายและต้นทุน CFO ยังมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลต่อ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้นเป็นช่วงเวลา เช่นกรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะกำหนดให้รายงานทุกไตรมาส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งบการเงิน และรายงานตามมาตรา 56  

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการกำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับ บริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ซึ่งมีรายละเอียดในส่วนของ บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้ที่สนใจสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ “กรรมการ” และคณะกรรมการ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น-ลักษณะของธุรกิจ

ลักษณะของธุรกิจ ที่นักลงทุนระดับโลกเลือกลงทุน
ผู้ลงทุนควรจะศึกษาเรียนรู้ลักษณะของธุรกิจที่ตนจะเข้าไปลงทุนอย่างละเอียดให้เข้าใจก่อนที่จะเข้าไปลงทุน เสมือนเข้าซื้อกิจการ

1.ธุรกิจทั่วไป คือธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย โดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้ลงทุน ดังนั้นธุรกิจทั่วไปของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน วันนี้คุณหา ธุรกิจทั่วไป สำหรับคุณพบแล้วหรือยัง ธุรกิจทั่วไป มีคุณสมบัติสำคัญอีกอย่างคือ เป็นธุรกิจที่ ไม่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์มาก หรือ ต้นทุนค่าวิจัยและพัฒนาต่ำ คือ ผลิตสินค้าที่ง่ายๆ แต่ใช้ได้ยาวนาน ยกตัวอย่างเช่น cocacola , gillette

2.บริษัทมีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งทำให้ยากแก่คู่แข่งที่จะเข้ามาแข่งขัน และคูเมืองนั้น มีการปรับปรุง ให้กว้างขึ้นและยากขึ้นที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดได้ ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า มี Barrier of entry สูง

  • บริษัทที่ยากแก่การลอกเลียน ธุรกิจซึ่งยากต่อการลอกเลียนโดยสินค้ามีแบรนด์และสามารถเอาชนะใจของผู้บริโภคในฐานะทางเลือกที่ดีที่สุด มาเป็นเวลานาน ทำให้ยากต่อการเอาชนะ 
  • ลิขสิทธิ์ เป็นสิ่งที่บริษัทต้องมี เพื่อให้ยากต่อคู่แข่งที่จะเข้ามาแย่งตลาดของบริษัท ตัวอย่างเช่น บริษัทยา หรือ บริษัทด้านเทคโนโลยี 
  • บริษัทซึ่งมีทรัพย์สินซ่อนเร้นเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่นบริษัทที่ทำกิจการรถไฟ จะมีทรัพย์สินคือที่ดินภายใต้รางรถไฟเป็นจำนวนมาก
 3.ธรรมชาติของธุรกิจ อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่หวือหวาหรือไม่ 
บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่หวือหวา หรือน่าเบื่อ จะทำให้คู่แข่ง ไม่เข้ามาแย่งตลาด 
แต่ต้องมีการพิจารณาว่าผู้บริหารสามารถบริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรในอนาคตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่

 4.ธุรกิจที่คนทั่วไปมองว่าสกปรก ธุรกิจที่เกี่ยวกับการกำจัดของเสีย จะมีคู่แข่งน้อยราย

 5.บริษัทมีการสร้างรากฐานอันมั่นคง ในพื้นที่ก่อนที่จะขยายไประดับประเทศหรือไม่
ถ้ามีการขยายสาขาในประเทศก่อน เราสามารถติดตามการขยายตัวในประเทศว่าประสบ
ความสำเร็จหรือไม่ ถ้าบริษัทเหล่านั้นเริ่มขยายตัวในระยะเริ่มต้นแล้วประสบความสำเร็จ แล้วเราเข้าไปลงทุน ถือหุ้นระยะยาวจนบริษัทประสบความสำเร็จในต่างประเทศ จะทำให้ สามารถทำเงินได้มหาศาล
 
 6.บริษัทที่ครอบครองส่วนจำเพาะของตลาด
บริษัทสามารถมองเห็นช่องว่างทางการตลาด แล้ว เข้าไปปิดช่องว่างโดยเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่าง โดยที่บริษัทคู่แข่งไม่ทันรู้ตัว ทำให้บริษัทสามารถครอบครองตลาดในส่วนนั้นไว้ได้ จากนั้นก็ขยายตลาดไป ยังพื้นที่อื่นๆ ถ้าเรามองเห็นบริษัทลักษณะแบบนี้และลงทุนตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล

 7.บริษัทไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมยอดนิยม เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยง บริษัทในอุตสาหกรรมยอดนิยมคือ
  • ความนิยมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
  • ถูกจับตาโดยกองทุนต่างๆ ทำให้ราคาอยู่ในระดับที่เกินมูลค่าที่แท้จริง และมีการแกว่งตัวมาก
  • บริษัทมีคู่แข่งมากรายเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดตลอดเวลา



วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทมหาชน

1. คุณสมบัติตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน
มาตรา 68 กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ และ
      • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
      • ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
      • ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
2. คุณสมบัติตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์
        • มาตรา 89/6 ผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่แสดงถึงการขาดความเหมาะ สมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหาร จัดการ กิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
        • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ 3 กรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดัง ต่อไปนี้
      • เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
      • เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
      • อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูก ดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
      • อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งขององค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
      • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทำความผิดตาม (3)
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัด ระวัง (duties of care) และซื่อสัตย์สุจริต (duties of loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ตนเป็น หรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมการอำพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจด ทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระ สำคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในนามของตนเองหรือกระทำแทนนิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมี อำนาจในการจัดการ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน ที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น
3. คุณสมบัติตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ในกรณีที่สนใจเป็นกรรมการธนาคารพาณิชย์)
กรรมการจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ซึ่งนวมถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
  • ไม่เคยถูกลงโทษ ไล่ออก หรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
  • ไม่เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิก ถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มัอำนาจในการจัดการของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของธนาคารพาณชิย์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับการกำกับควบคุมสถาบันการเงิน เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าไป แก้ไขการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือเป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ
  • มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
  • ข้อกำหนดเพิ่มเติมอื่นๆ
    • ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่แต่งตั้งหรือ มีกรรมการที่เป็นผู้บริหารและผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีลักษณะต้องห้ามอย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
      • มีปัญหาในการชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน
      • เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สั่งถอดถอนจากการ เป็นผู้บริหารสถาบันการเงินหรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่ จะพ้นจากระยะเวลาที่กำหนดห้ามเป็นผู้บริหารแล้ว หรือได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
      • เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กำกับและควบคุมสถาบันการเงิน กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกำลังถูกดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจรติตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการกำกับและควบคุมสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่ จะปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด
      • เคยทำหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการใดๆ ที่มีลักษณธอันเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน
      • มีประวัติเสียหาย หรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงวิธีการทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
      • มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทำงานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
      • มีการทำงานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินหรือการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือ ตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดความรอบคอบที่พีงมีในการปฏิบัติหน้าที่ อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงินโดยรวม หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะหรือการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน

อ้างอิง: http://www.set.or.th/th/regulations/cg/directorqualify.html