วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Financial Analysis - Estimation

Financial Analysis - Estimation
หัวข้อนี้จะกล่าวถึง ค่าในงบการเงินที่เกิดจากการประมาณการ ในงบการเงิน ตัวเลขทางบัญชี มีทั้ง ค่าจริง และค่าที่เกิดจากการประมาณการ การวิเคราะห์งบการเงิน จึงต้องทำการศึกษา ในส่วนการประมาณการเหล่านี้ ว่าเหมาะสมหรือไม่ หรือกรณีที่จะเปรียบเทียบ ระหว่างบริษัทหรือ อุตสาหกรรม ก็จะต้องพิจารณาในส่วนนี้ว่า มีการใช้หลักการประมาณการเดียวกันหรือไม่ ใช้เกณฑ์ต่างกันอย่างไร

ข้อมูลในงบการเงินที่นิยมใช้วิธีประมาณการคือ
  1. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) จะต้องมีการประมาณการ มูลค่าราคาซาก และ ระยะเวลาใช้งาน
  2. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance) จะต้องประมาณการว่าลูกหนี้การค้า ที่จะเบี้ยวเรามีเท่าไร
  3. สินค้าคงคลัง (Inventory) กรณีสินค้าที่เหมือนๆ กัน เช่น ปากกา ยางลบ ท่อน้ำ ทำให้ยากต่อการแยก และเนื่องจาก เวลาซื้อ ราคาทุนอาจจะต่างกัน ทำให้ต้องประมาณการว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีมูลค่าเท่าไร และ ต้นทุนสินค้าขายมีมูลค่าเท่าไร

คราวนี้ ผลของการประมาณการผิดพลาดมีอย่างไรบ้าง
 1.ค่าเสื่อมราคา ถ้าเราประมาณ ระยะเวลาใช้งานเป็น 10 ปี แต่เครื่องจักรนั้นใช้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีซึ่ง เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำให้เครื่องจักร ใช้งานได้เพียง 5 ปี สมมติ เครื่องจักร ราคา 1 ล้านบาท เมื่อใช้ไป 5 ปี เราตัดค่าเสื่อมราคาไปเพียง 5 แสนบาท (คิดแบบเส้นตรง)  แสดงว่าปีก่อนๆ เรา under estimate ค่าใช้จ่าย ทำให้ over estimate กำไร หรือ อธิบายง่ายๆว่าปีก่อนๆ ที่กำไร ดูดีเพราะการประมาณการที่ผิดพลาดไม่เหมาะสม

2.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ถ้าเราประมาณไม่ตรงกับของจริงเช่นประมาณ ค่าน้อยๆ ทั้งที่จริงๆแล้วลูกหนี้การค้าเรา เกินกำหนดชำระมานานและ สถานะการเงินไม่สามารถชำระหนี้เราได้ จะทำให้เรามองลูกหนี้การค้า (Account Recievable) ซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมีมูลค่าเกินจริงืำมห้อาจจะตัดสินใจลงทุนผิดพลาดได้

เห็นไหมครับการประมาณการ ที่แตกต่างกัน อาจมีผลต่องบการเงิน และการตัดสินใจของเราอย่างมาก
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะลงทุน เราควรศึกษาในส่วนของการประมาณการเหล่านี้ อย่างละเอียด และเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง เพื่อเปรียบเทียบก่อนทำการลงทุนครับ

การประมาณการทั้งสามรายการนี้ มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จะอธิบายแยกเป็นรายการในบทความต่อๆไป รอติดตามอ่านกันนะครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น