วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทมหาชน

1. คุณสมบัติตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน
มาตรา 68 กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ และ
      • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
      • ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
      • ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
2. คุณสมบัติตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์
        • มาตรา 89/6 ผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่แสดงถึงการขาดความเหมาะ สมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหาร จัดการ กิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
        • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2552 เรื่อง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ 3 กรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดัง ต่อไปนี้
      • เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
      • เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน
      • อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูก ดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
      • อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งขององค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
      • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทำความผิดตาม (3)
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัด ระวัง (duties of care) และซื่อสัตย์สุจริต (duties of loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ตนเป็น หรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมการอำพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจด ทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระ สำคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในนามของตนเองหรือกระทำแทนนิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมี อำนาจในการจัดการ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น
      • มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคย มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน ที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น
3. คุณสมบัติตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ในกรณีที่สนใจเป็นกรรมการธนาคารพาณิชย์)
กรรมการจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ซึ่งนวมถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
  • ไม่เคยถูกลงโทษ ไล่ออก หรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่
  • ไม่เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินถูกเพิก ถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มัอำนาจในการจัดการของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของธนาคารพาณชิย์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับการกำกับควบคุมสถาบันการเงิน เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าไป แก้ไขการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือเป็นการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ
  • มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรือคุณสมบัติอื่น ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
  • ข้อกำหนดเพิ่มเติมอื่นๆ
    • ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่แต่งตั้งหรือ มีกรรมการที่เป็นผู้บริหารและผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีลักษณะต้องห้ามอย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
      • มีปัญหาในการชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน
      • เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สั่งถอดถอนจากการ เป็นผู้บริหารสถาบันการเงินหรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่ จะพ้นจากระยะเวลาที่กำหนดห้ามเป็นผู้บริหารแล้ว หรือได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
      • เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กำกับและควบคุมสถาบันการเงิน กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกำลังถูกดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจรติตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการกำกับและควบคุมสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่ จะปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด
      • เคยทำหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการใดๆ ที่มีลักษณธอันเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน
      • มีประวัติเสียหาย หรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงวิธีการทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ
      • มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทำงานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
      • มีการทำงานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินหรือการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือ ตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดความรอบคอบที่พีงมีในการปฏิบัติหน้าที่ อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงินโดยรวม หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะหรือการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน

อ้างอิง: http://www.set.or.th/th/regulations/cg/directorqualify.html

1 ความคิดเห็น:

  1. แล้วถ้าถูกพิพากษาให้จำคุกอยู่ในเรือนจำขณะนี้ ยังคงจะดำรง ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอยู่ได้ไหมครับ

    ตอบลบ