โครงสร้างบริษัทมหาชน
Board of Directors คณะกรรมการบริษัท จะถูกเลือกโดย ผู้ถือหุ้น
คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทมหาชน
กรรมการของบริษัท สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
- Chairman – ประธานกรรมการบริหารจะถูกเลือกโดยคณะกรรมการ เพื่อเป็นผู้นำซึ่งรับผิดชอบให้การประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นไปด้วยความราบลื่น และมีประสิทธิภาพ และยังมีหน้าที่สำคัญคือ สื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง รวมถึง CEO เพื่อกำหนด กลยุทธ์ของบริษัท และเป็นตัวแทนของผู้บริหารและคณะกรรมการ ในการให้ข้อมูลต่อสาธารณะและ ผู้ถือหุ้น
- Inside Directors – คณะกรรมการภายใน อาจจะเป็นคณะกรรมการบริหารที่เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ได้ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี มีหน้าที่ในการอนุมัติงบประมาณที่ใช้วงเงินสูง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เป็นผู้ที่นำกลยุทธ์ของบริษัทไปใช้และติดตาม เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภายในบริษัทต่อคณะกรรมการอื่นๆ
- Outside Directors – คณะกรรมการอิสระ มีหน้าที่เหมือนกับคณะกรรมการภายในในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัท ข้อแตกต่างคือ คณะกรรมการอิสระ จะให้ความเห็นที่ปราศจากความลำเอียงไม่เข้าข้างฝ่ายบริหาร เนื่องจากไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัท
- Chief Executive Officer (CEO) – ผู้บริหารสูงสุด มีหน้าที่ในการบริหารภาพรวมของทั้งบริษัท และ รายงานต่อ คณะกรรมการบริหาร และมีหน้าที่ในการนำการตัดสินใจและแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด ไปใช้ ผู้บริหารสูงสุดอาจจะเป็นคณะกรรมการภายในก็ได้แต่ไม่ควรเป็นคนเดียวกับ ประธานกรรมการบริหาร เพื่อความเป็นอิสระต่อกัน และแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน
- Chief Operations Officer (COO) – รองผู้บริหารด้านปฏิบัติการเกี่ยวกับด้านการตลาด การขาย การผลิต และด้านบุคคล และรายงานผลหรือปัญหาต่อ CEO
- Chief Financial Officer (CFO) – รองผู้บริหารด้านการเงิน รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน รายงานด้านประสิทธิภาพทางการเงิน และ จัดเตรียมงบประมาณรายปี และ ติดตามการใช้จ่ายและต้นทุน CFO ยังมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลต่อ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้นเป็นช่วงเวลา เช่นกรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะกำหนดให้รายงานทุกไตรมาส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งบการเงิน และรายงานตามมาตรา 56
สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการกำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับ บริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ซึ่งมีรายละเอียดในส่วนของ บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้ที่สนใจสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ “กรรมการ” และคณะกรรมการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น