วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน-หนี้สิน

หนี้สินเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ถ้าหากผู้บริหาร บริหารหนี้สินผิดพลาด อาจนำมาสู่การล้มละลายของบริษัทได้  ดังนั้น การคัดเลือกหุ้น จะต้องพิจารณาหนี้สินอย่างละเอียด  โดยในส่วนของหนี้สินเราจะพิจารณา ดังนี้

พิจารณาหนี้ของบริษัท ว่ามีหนี้อะไรบ้าง โดยหนีจะแบ่งออกเป็น
    • หนี้ระยะสั้น คือหนี้ที่ครบกำหนดจ่ายในเวลาน้อยกว่า 1 ปี
    • หนี้ระยะยาว คือหนี้ที่ครบกำหนดจ่ายในเวลามากกว่า 1 ปี
  • ควรจะพิจารณาว่าหนี้ทั้งสองชนิดนี้ มีมากเกินไปหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง หรือถ้าบริษัทสามารถคืนหนี้ได้ทั้งหมดด้วยรายได้สุทธิ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ก็ควรเป็นหนี้ที่สามารถบริหารจัดการได้
  • ถ้าบริษัทมีการก่อหนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเฟื่องฟู มากเกินไป เมื่อเข้าสู้สภาวะถดถอย ก็จะทำให้บริษัทมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้
  • พิจารณาหนี้ระยะสั้น ว่าบริษัทมีความสามารถที่จะจ่ายหรือไม่ โดยพิจารณาจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด การลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้ สินทรัพย์ซ่อนเร้น และ กระแสเงินสดเพื่อจ่ายหนี้ระยะสั้น 
  • พิจารณาอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายหนี้สินในปัจจุบันหรือไม่
    • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน 
      อัตราส่วนทุนหมุนเวียนควรมีค่ามากกว่า 1 ถ้ามีค่าต่ำกว่า แสดงว่า บริษัทอยู่ในสภาวะเสี่ยงเรา
จะต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติม ว่า บริษัทจะแก้ปัญหาอย่างไร หรือ บริษัทมีสินทรัพย์ซ่อนเร้นที่สามารถนำมาชำระหนี้สินระยะสั้นได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้วว่าสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ เราอาจจะได้หุ้นราคาถูกที่นักลงทุนทั่วไป ทิ้งเนื่องจากไม่ได้พิจารณาอย่างละเอียด เพื่อสถานการณ์ผ่านไป ราคาหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้นและ ได้กำไรมหาศาล หรือเรียกว่าเราได้หุ้นในราคาส่วนลด

  • ถ้าเป็นไปได้ นักลงทุนควรจะลงทุนในบริษัทที่ไม่มีหนี้สินระยะยาว โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องในเงินลงทุนมาก เช่นอุตสาหกรรม บริการ บริษัทเหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ได้มากกว่าและไม่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ และไม่ต้องเสียส่วนของกำไรไปกับหนี้ระยะยาว
  • พิจารณาบริษัทที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ จนไม่ต้องพึ่งพาหนี้สินระยะยาวในการไปลงทุนเพื่อการเติบโตของบริษัท
  • พิจารณาว่า หนี้สินระยะยาว มีปริมาณที่สมเหตุสมผลหรือไม่ โดย หนี้ระยะยาว ควรจะสามารถชำระหมดด้วยรายได้สุทธิ ไม่เกิน 5 ปี และมีกระแสเงินสด เพียงพอ 
  • พิจารณาประเภทของหนี้ด้วย ว่าเป็นหนี้ที่สามารถเรียกคืนได้หรือไม่ ถ้าสามารถเรียกคืนได้เราต้องระมัดระวัง และต้องพิจารณากระแสเงินสดว่าคงที่และ ครอบคลุมการชำระหนี้ที่เสี่ยงนี้เพียงพอหรือไม่ 
  • หนี้สินระยะยาวที่มีประโยชน์ คือ หุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่มีอายุ ยาวและดอกเบี้ยต่ำ 
  • ควรเลือกลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายดอกเบี้ยน้อย หรือไม่ต้องจ่ายเลย 
  • หากมีดอกเบี้ยจ่าย ควรพิจารณาว่า อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน แต่ละปี สูงขึ้นหรือไม่ ถ้าสูงขึ้นต้องระมัดระวัง 
  • ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหุ้นบุริมสิทธิ์ เนื่องจาก หุ้นบุริมสิทธิ์ จะมีค่าใช้จ่ายสูง และ บางชนิดยังสามารถแปลง เป็น หุ้นสามัญ ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญ ลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น